Uncategorized

บทบาทและประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)

กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า CSR เป็นแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร เพื่อทำให้สังคมนั้นอยู่อย่างมีความสุข

แนวคิดเรื่อง CSR นั้นจะช่วยให้บริษัทคำนึงถึงความรู้จักผิดชอบกับการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในมิติต่างๆ ทั้งตัวบริษัท พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ประชาชน สังคม สิ่งแวดล้อม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ หรือที่เรียกว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในทางปฏิบัติคำว่า CSR อาจเรียกได้ว่าความเป็นพลเมืองที่ดี (Corporate Citizenship) ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบในทุกๆด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

หากบริษัทไหนเริ่มต้นที่จะนำแนวคิด CSR มาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความน่าชื่อถือให้กับบริษัทเอง รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตก้าวหน้าพร้อมกับคืนกำไรต่างๆสู่ชุมชนและสังคม ดังนั้น CSR จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจสำหรับองค์กรใหญ่ๆทุกบริษัท และกลายเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมธุรกิจ คู่แข่ง และอุตสาหกรรม

ประเภทของ CSR

CSR นั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

  • กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-After-Process)
    เป็นการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่แสวงหากำไรในธุรกิจต่างๆ และนำเงินส่วนหนึ่งที่เป็นรายได้จากการสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการผลิต การขายสินค้าหรือบริการของบริษัท เป็นกิจกรรมที่ถูกวางแผนและทำขึ้นมาหลังจากการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริจาคเงินสมทบทุน การบริจาคเงินช่วยเหลือภัยพิบัติ การสร้างโรงเรียนในต่างจังหวัด หรือการเป็นอาสาสมัครในด้านต่างๆ
  • ธุรกิจเพื่อสังคม (CSR-in-Process)
    ความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ ที่แสวงหากำไรแต่ไม่ลืมที่จะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การควบคุมและป้องกันการสร้างมลพิษจากกระบวนการผลิต การผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน การระบุข้อความหรือข้อมูลส่วนผสมในสินค้า หรือการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่บริษัททำอะไรผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ความผิดพลาดต่อลูกค้า ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในเวลาทำงานปกติขององค์กร
  • กิจการเพื่อสังคม (CSR-as-Process)
    กิจการเพื่อสังคมจะมีความแตกต่างจากกิจกรรมเพื่อสังคมและธุรกิจเพิ่มสังคม เนื่องจากกิจการเพื่อสังคมนั้นเป็นการทำโดยที่ไม่ได้แสวงหากำไรให้กับตัวเอง หรือเรียกได้ว่าทุกกระบวนการของธุรกิจนั้นจะเกี่ยวข้องกับประโยชน์เพื่อสังคมทั้งหมด เช่น มูลนิธิเพื่อสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันในการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่สังคม แต่ก็จำเป็นต้องอยู่รอดด้วยการรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และเรายังเห็นได้จากองค์กรใหญ่หลายๆองค์กรก็เริ่มมีการจัดตั้งหน่วยงานกิจการเพื่อสังคมขึ้นมาเป็นรูปแบบมูลนิธิเพื่อสังคม ในการกำกับดูแลการทำเพื่อสังคมโดยเฉพาะ

  1. บทบาทของ CSR: มีบทบาทอย่างไรในการสร้างความยั่งยืนและสร้างค่าเพิ่มให้กับธุรกิจโดยไม่ได้มองเฉพาะด้านการเงินเท่านั้น
  2. ผลกระทบของ CSR ต่อธุรกิจ: ชี้แจงถึงวิธีที่กิจกรรม CSR สามารถส่งผลด้านบวกต่อธุรกิจ เช่น การเสริมสร้างความไว้วางใจจากลูกค้า การลดค่าใช้จ่ายในด้านการผลิต หรือการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเอง
  3. ความสัมพันธ์ระหว่าง CSR และสังคม: อธิบายถึงความสัมพันธ์และผลกระทบที่ CSR มีต่อสังคม การสนับสนุนโครงการสังคมและการช่วยเหลือที่สร้างคุณค่าต่อสังคม
  4. กรณีศึกษา: ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม CSR ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จและประโยชน์ที่ได้รับจริง
  5. การบูรณาการ CSR ในยุคปัจจุบัน: การสร้างแนวทางการดำเนินการ CSR ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และความต้องการของผู้บริโภค

โดยมุ่งเน้นที่การผสมผสานระหว่างความสำเร็จทางธุรกิจและการสร้างคุณค่าต่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมธุรกิจที่ยั่งยืนและทำให้เกิดผลดีต่อทั้งกลุ่มเป้าหมายและสังคมโดยรวม

ภาพกิจกรรม CSR ที่ Jingjo Packaging ได้เข้าร่วม

ถุงขยะ ถุงดำ ถุงเหนียว นุ่ม หนา ทนทาน แข็งแรง แพค 1 กิโล
  • ถุงขยะดำ HDPE เหนียว นุ่ม ทนทาน ไม่ขาดง่าย !
  • สินค้าสามารถใช้ใส่ขยะได้ทุกประเภท มี ความเหนียว ทนทาน เหมาะกับการใช้งานในบ้านและทุกสถานที่

สามารถแอดไลน์ร้านเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมรับส่วนลดพิเศษได้เลยนะคะ

รับโปรโมชั่นดี โปรโมชั่นเด็ดก่อนใคร????ลูกค้าสามารถแอดไลน์
@jingjopackaging (อย่าลืม@นำหน้านะคะ) ขอบคุณค่ะ  Facebook Twitter Pinterest linkedin Telegram